อากาศดีๆแว้นมอไซด์ ไปวัดมาครับ รูปจากกร้อง คอมแพค oly-xz1
ข้อลูลวัด..http://www.paiduaykan.com
วัดพระธาตุหริภุญไชยวรมหาวิหาร เป็นปูชนียสถานสำคัญในภาคเหนือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่เมืองลำพูนมาอย่างยาวนานตั้งอดีตนับเวลามากกว่าพันปี ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 150 เมตร มีถนนล้อมรอบสี่ด้าน คือ ถนนอัฏฐารสทางทิศเหนือ ถนนชัยมงคลทางทิศใต้ ถนนรอบเมืองทาง ทิศตะวันออก นอกจากนั้นยังเป็นองค์พระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปี ระกา อีกด้วย
พระธาตุหริภุญไชย ลำพูน
ภายในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญไชย ยังมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ
พระบรมธาตุหริภุญไชย
เป็นเจดีย์แบบล้านนาไทยแท้ๆ ที่ลงตัวสวยงาม ภายในบรรจุพระเกศบรมธาตุบรรจุในโกศทองคำ ประดิษฐานในพระเจดีย์ ประกอบด้วยฐานปัทม์ แบบฐานบัวลูกแก้ว ย่อเก็จ ต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้น ตั้งรับองค์ระฆังกลม บัลลังก์ย่อเหลี่ยม เจดีย์มีลักษณะใกล้เคียงกับ พระธาตุดอยสุเทพที่จังหวัดเชียงใหม่ สูง 25 วา 2 ศอก ฐานกว้าง 12 วา 2 ศอก 1 คืบ มีสัตติ- บัญชร (รั้วเหล็กและทองเหลือง) 2 ชั้น สำเภาทอง ประดิษฐานอยู่ประจำรั้วชั้นนอกทั้งทิศเหนือ และทิศใต้ มีซุ้มกุมภัณฑ์ และฉัตรประจำสี่มุม และหอคอยประจำทุกด้านรวม 4 หอ บรรจุพระพุทธรูป นั่งทุกหอ นอกจากนี้ยังมีโคมประทีป และแท่นบูชาก่อประจำไว้เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559
พาเด็กมาเลี้ยงแกะที่ ร้าน Aries Chiang Mai
วันนี้มาแนะนำร้านกาแฟ บรรยากาศ น่านั่งอีกหนึ่งร้านในเชียงใหม่
ร้านนี้ นอกจาก จะเห็นวิวภูเขาแล้ว ยังมีจุดเด่นอีกหนึ่งอย่าง คือ มีฟาร์มแกะ อยู่ข้างๆเลย เรียกว่า นั่งจิบกาแฟ ชิลๆ ดู ฝูงแกะ ที่ยืนเล็มหญ้า หรือ วิ่งไล่กัน
ก็ เพลินดี ครับ ที่ตั้งของร้าน หาไม่ยาก ครับ ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปีหรือแถวแม่เหียะ ถ้ามาจาก central airport plaza ขับมาทาง หางดง พอถึงแยก Big-C เลี้ยวขวา(ทาลลอดอุโมงค์บิ๊กซี หางดง) ไปทาง คันคลองชลประทานร้านจะอยู่ เยื้องกับ หมู่บ้านสิวลี โครงการแลนด์แอนด์เฮ้าส์ และ อยู่ก่อนถึงร้านอาหาร Windmill
พาเด็กดอยมาแอ่วดอย @ สะเมิงเจร้า...
ไร่สตรอเบอรี่ ไร่วงค์วาน
ไร่วงค์วาน เป็นไร่สตรอเบอรี่ไร่หนึ่งที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก และเป็นที่ท่องเที่ยวของอำเภอสะเมิงครับ ภายในไร่สตรอเบอรี่วงค์วานนี้จะมีพื้นที่กว้างขวาง ซึ่งมีทั้งไร่สตรอเบอรี่ ร้านอาหารและบ้านพัก โดยที่ไร่นี้ตั้งอยู่กลางหุบเขา อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ อยู่ทางทิศใต้ของโรงพยาบาลสะเมิงไปราวๆ 1 กิโลเมตร ก็จะเจอป้ายบอกทางเข้าไร่อยู่ทางขวามือ ซึ่งหน้าทางเข้าไร่มีวัดแสตองเป็นจุดสังเกตุครับ พอเลี้ยวขวาเข้าไปก็ตรงไปอีกราวๆ 300 เมตร
ไร่สตรอเบอร์รี่ แกรนด์เบอร์รี่การ์เด้น
แกรนด์เบอร์รี่ การ์เด้น เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2533 โดยเริ่มจากการปลูกสตรอเบอร์รี่ที่ ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เพื่อการขายส่ง หลังจากนั้นปี พ.ศ. 2553 แกรนด์เบอร์รี่ การ์เด้น ขยายกิจการมาที่บริเวณ ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เพื่อพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยมีไร่สตรอเบอร์รี่ ไร่องุ่น และร้านจำหน่ายผลผลิตของไร่
ข้อมูลจาก....http://www.grandberrygarden.com
ไร่วงค์วาน เป็นไร่สตรอเบอรี่ไร่หนึ่งที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก และเป็นที่ท่องเที่ยวของอำเภอสะเมิงครับ ภายในไร่สตรอเบอรี่วงค์วานนี้จะมีพื้นที่กว้างขวาง ซึ่งมีทั้งไร่สตรอเบอรี่ ร้านอาหารและบ้านพัก โดยที่ไร่นี้ตั้งอยู่กลางหุบเขา อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ อยู่ทางทิศใต้ของโรงพยาบาลสะเมิงไปราวๆ 1 กิโลเมตร ก็จะเจอป้ายบอกทางเข้าไร่อยู่ทางขวามือ ซึ่งหน้าทางเข้าไร่มีวัดแสตองเป็นจุดสังเกตุครับ พอเลี้ยวขวาเข้าไปก็ตรงไปอีกราวๆ 300 เมตร
ไร่สตรอเบอร์รี่ แกรนด์เบอร์รี่การ์เด้น
แกรนด์เบอร์รี่ การ์เด้น เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2533 โดยเริ่มจากการปลูกสตรอเบอร์รี่ที่ ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เพื่อการขายส่ง หลังจากนั้นปี พ.ศ. 2553 แกรนด์เบอร์รี่ การ์เด้น ขยายกิจการมาที่บริเวณ ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เพื่อพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยมีไร่สตรอเบอร์รี่ ไร่องุ่น และร้านจำหน่ายผลผลิตของไร่
ข้อมูลจาก....http://www.grandberrygarden.com
ชิมกาแฟร้าน ณ หละปูน (กาแฟตราแพะ) แวะไหวพระครูบาศรีวิชัยองค์ใหญ่ที่สุดในโลก
ร้าน ณ หละปูน (กาแฟตราแพะ) แวะไหวพระครูบาศรีวิชัยองค์ใหญ่ที่สุดในโลก
เป็นร้านกาแฟเล็กๆ บรรยากาศดี ๆ ตั้งอยู่ก่อนทางเข้าเมือง ลำพูน อยู่ใกล้สถานที่ที่ท่องเที่ยวคือ รูปปั้นครูบาศรีวิชัยองค์ใหญ่ที่สุดในโลก
ซึ่งจังหวัดลำพูนได้จัดสร้างขึ้นตามโครงการพัฒนาแหล่งกระจาย สินค้า และจุดดึงดูดทางการท่องเที่ยวของจังหวัดลำพูน ซึ่งก่อสร้างรูปปั้นครูบาศรีวิชัย บนยอดดอยติ รูปแบบนั่งขัดสมาธิ ก่อสร้างด้วยปูนซีเมนต์ ความสูง 21 เมตร ฐานองค์กว้าง 18 เมตร ตั้งอยู่ริมถนนสายลำพูน-เชียงใหม่ สามารถมองเห็นแต่ไกล นับเป็นรูปปั้นครูบาศรีวิชัยองค์นั่งขัดสมาธิ ที่สูงใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งนี้เนื่องจากจังหวัดลำพูนเป็นถิ่นกำเนิดของครูบาศรีวิชัย ซึ่งพุทธศาสนิกชนได้เคารพสักการะยกย่องให้เป็นนักบุญแห่งล้านนา การก่อสร้างรูปปั้นครูบาศรีวิชัยจะเป็นศูนย์รวม ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาสักการบูชาพร้อมทั้งซื้อสินค้า ผลผลิตทางการเกษตรและงานหัตกรรมในบริเวณข้างเคียง ขณะนี้การก่อสร้างรูปปั้นครูบาศรีวิชัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว เตรียมการประกอบพิธีดำหัวสักการบูชาตามประเพณีชาวเหนือ ในวันที่ 15 เมษายน 2555 และในวันที่ 16 เมษายน 2555 จะประกอบพิธีอันเชิญรูปคำไม้สวมคอรูปปั้น และจะประกอบพิธีบรรจุดวงแก้วหัวใจในองค์รูปปั้น วันที่ 11 มิถุนายน 2555 ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความชื่นชมที่จังหวัดลำพูนได้จัดสร้างรูปปั้นครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบให้ประชาชนสักการบูชา ทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวของผู้ที่เดินทางมายังจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ อีกด้วย
เป็นร้านกาแฟเล็กๆ บรรยากาศดี ๆ ตั้งอยู่ก่อนทางเข้าเมือง ลำพูน อยู่ใกล้สถานที่ที่ท่องเที่ยวคือ รูปปั้นครูบาศรีวิชัยองค์ใหญ่ที่สุดในโลก
ซึ่งจังหวัดลำพูนได้จัดสร้างขึ้นตามโครงการพัฒนาแหล่งกระจาย สินค้า และจุดดึงดูดทางการท่องเที่ยวของจังหวัดลำพูน ซึ่งก่อสร้างรูปปั้นครูบาศรีวิชัย บนยอดดอยติ รูปแบบนั่งขัดสมาธิ ก่อสร้างด้วยปูนซีเมนต์ ความสูง 21 เมตร ฐานองค์กว้าง 18 เมตร ตั้งอยู่ริมถนนสายลำพูน-เชียงใหม่ สามารถมองเห็นแต่ไกล นับเป็นรูปปั้นครูบาศรีวิชัยองค์นั่งขัดสมาธิ ที่สูงใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งนี้เนื่องจากจังหวัดลำพูนเป็นถิ่นกำเนิดของครูบาศรีวิชัย ซึ่งพุทธศาสนิกชนได้เคารพสักการะยกย่องให้เป็นนักบุญแห่งล้านนา การก่อสร้างรูปปั้นครูบาศรีวิชัยจะเป็นศูนย์รวม ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาสักการบูชาพร้อมทั้งซื้อสินค้า ผลผลิตทางการเกษตรและงานหัตกรรมในบริเวณข้างเคียง ขณะนี้การก่อสร้างรูปปั้นครูบาศรีวิชัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว เตรียมการประกอบพิธีดำหัวสักการบูชาตามประเพณีชาวเหนือ ในวันที่ 15 เมษายน 2555 และในวันที่ 16 เมษายน 2555 จะประกอบพิธีอันเชิญรูปคำไม้สวมคอรูปปั้น และจะประกอบพิธีบรรจุดวงแก้วหัวใจในองค์รูปปั้น วันที่ 11 มิถุนายน 2555 ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความชื่นชมที่จังหวัดลำพูนได้จัดสร้างรูปปั้นครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบให้ประชาชนสักการบูชา ทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวของผู้ที่เดินทางมายังจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ อีกด้วย
พอใจพาไปเที่ยว...ลวกไข่ที่บ่อน้ำพุร้อนแม่จอก
พอใจพาไปเที่ยว...ลวกไข่ที่บ่อน้ำพุร้อนแม่จอก...พอดีเป็นเส้นทางผ่านจากแพร่-ลำปาง เลยแวะสักหน่อย
ข้อมูลโดย : องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ป้าก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ 54160
หากพูดถึงบ่อน้ำร้อนแน่นอนว่าภาคเหนือของประเทศไทยนั้นค่อนข้าง มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก "บ่อน้ำร้อนแม่จอก"ก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่อง เที่ยวที่มีชื่อเสียงและน่ามาเยือนซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติ เวียงโกศัย บ้านแม่จอก ตำบลแม่ป้าก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพรโดยบ่อน้ำ่
ร้อนนั้นมีลักษณะเป็นบ่อผุดขึ้นมาจากพื้นที่บริเวณนั้นส่วนน้ำร้อนในบ่อ นั้นมีอุณหภูมิ ประมาณ 80 องศาเซลเซียสซึ่งมีลักษณะที่แปลกและสวย งามมาก อีกทั้งยังมีห้องอาบน้ำแร่ นวดแผนไทย ไข่ลวกน้ำแร่ อาหาร เครื่องดื่มจำหน่ายสินค้าที่ระลึกท้องถิ่นให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือน อีกด้วยนอกจากนี้ในช่วงตอนเช้า บริเวณบ่อน้ำร้อนจะมีหมอกควัน ที่เกิดจากไอน้ำลอยอยู่เต็มไปหมด ซึ่งก่อให้เกิดทัศนียภาพที่สวย งามแก่ผู้มาเยือนเป็นอย่างยิ่ง
ข้อมูลโดย : องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ป้าก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ 54160
หากพูดถึงบ่อน้ำร้อนแน่นอนว่าภาคเหนือของประเทศไทยนั้นค่อนข้าง มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก "บ่อน้ำร้อนแม่จอก"ก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่อง เที่ยวที่มีชื่อเสียงและน่ามาเยือนซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติ เวียงโกศัย บ้านแม่จอก ตำบลแม่ป้าก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพรโดยบ่อน้ำ่
ร้อนนั้นมีลักษณะเป็นบ่อผุดขึ้นมาจากพื้นที่บริเวณนั้นส่วนน้ำร้อนในบ่อ นั้นมีอุณหภูมิ ประมาณ 80 องศาเซลเซียสซึ่งมีลักษณะที่แปลกและสวย งามมาก อีกทั้งยังมีห้องอาบน้ำแร่ นวดแผนไทย ไข่ลวกน้ำแร่ อาหาร เครื่องดื่มจำหน่ายสินค้าที่ระลึกท้องถิ่นให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือน อีกด้วยนอกจากนี้ในช่วงตอนเช้า บริเวณบ่อน้ำร้อนจะมีหมอกควัน ที่เกิดจากไอน้ำลอยอยู่เต็มไปหมด ซึ่งก่อให้เกิดทัศนียภาพที่สวย งามแก่ผู้มาเยือนเป็นอย่างยิ่ง
บ้านจ๊างนัก ศิลปะแห่งล้านนา จากฝีมือสล่าผู้สร้างวิญญาณให้ช้างไม้
บ้านจ๊างนัก ศิลปะแห่งล้านนา จากฝีมือสล่าผู้สร้างวิญญาณให้ช้างไม้
วัดหยุดได้มีโอกาศพาลูกสาวไปเที่ยวสถานที่ที่ไม่ใกลจากที่ทำงานของผมมากนัก ตั้งอยู่ อ.สันกำแพง จ. เชียงใหม่ ตามไปเที่ยวกันเลยครับ
ข้อมูลสถานที่..ครับ..
http://www.baanjangnak.com/index.html
บ้านจ๊างนักก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยสล่าเพชร วิริยะ ซึ่งได้รวบรวมเพื่อนฝูง ตลอดจนลูกศิษย์ลูกหา ช่างแกะสลักฝีมือดีและมีความรักในศิลปะการแกะสลักไม้แบบล้านนา มารวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มแกะสลักขึ้นมา เมื่อปีพ.ศ. 2531 คุณลุงประยูร จรรยาวงศ์ คอลัมน์นิสต์ชื่อดังแห่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐในขณะนั้น ได้ให้เกียรติมาเยี่ยมเยือน พร้อมกับตั้งชื่อบ้านว่า “บ้านจ๊างนัก” อันหมายถึงบ้านที่มีช้างเยอะแยะมากมาย
คุณเพชร วิริยะ จบการศึกษาเพียงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นผู้หนึ่งที่อนุรักษ์และมีความผูกพันกับช้างกล่าวว่า "เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 ได้เรียนวิชาแกะสลักช้างไม้จากครูคำอ้าย เดชดวงตา ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่เชี่ยวชาญทางด้านแกะสลักไม้โดยเฉพาะการแกะสลักช้าง หลังจากเรียนมีวิชาชีพในด้านการสลักช้างไม้จากครูคำอ้าย เดชดวงตา ประมาณ 4-5 ปี ออกมาประกอบอาชีพด้วยการเป็นลูกจ้างแกะสลักช้างตามร้านค้าทั่วไป เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าในอดีตที่ผ่านมา การแกะสลักช้างจะมีอยู่เพียง 2-3 ท่าเท่านั้น คือท่ายืนและท่าเดินรวมทั้งเป็นงานแกะสลักแบบขัดเกลี้ยงและลงเเล็กเกอร์ บ้านจ๊างนัก ได้มีการพัฒนารูปแบบการแกะสลักช้าง จากเดิมที่ช่างแกะจะมีการแกะสลักแบบตายตัว รูปแบบจะซ้ำกัน มาเป็นการแกะสลักช้างที่ดูมีชีวิตชีวา มีท่าทางท่วงทำนองที่เหมือน ช้างจริง ๆ ซึ่งนับเป็นแห่งแรกที่มีการแกะสลักช้างรูปแบบนี้
ระหว่างปี พ.ศ.2527-28 จึงได้ตัดสินใจเข้าไปศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของช้างว่ามีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร ในพ.ศ.2528-2529 จึงรวบรวมลูกศิษย์ 3-4 คน จัดตั้งกลุ่ม "บ้านจ๊างนัก" เริ่มบุกเบิกงาน แกะสลักช้างรูปแบบใหม่โดยเน้นรูปเหมือนจริงและมีหลากหลายอิริยาบถ ไม่ว่าจะเป็นท่านนั่ง นอน เดิน หรือแม้แต่ช้างกำลังถ่ายอุจจาระ" งานแกะสลักช้างของบ้านจ๊างนักจึงมีผู้คนยอมรับกันว่าเป็นงานแกะสลักช้างที่เหมือนจริงมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นผิวหนังที่เหมือนจริง ดวงตาที่เหมือนมีชีวิตจริง นับเป็นงานศิลปะพื้นบ้านที่น่าทึ่งที่สุดอีกแขนงหนึ่ง ที่ควรภาคภูมิใจว่านี่คือฝีมือของคนไทย
รูปแบบของงานแกะสลักช้างของบ้านจ๊างนักจะแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ คืองานแกะสลักช้างลอยตัวซึ่งมีขนาดตัวเล็กหรือตัวใหญ่, งานแกะสลักช้างบนแผ่นไม้กระดานสำหรับติดฝาผนัง, งานแกะหัวช้างที่มีทั้งหัวเล็กหรือหัวใหญ่ และงานไม้ท่อนที่แกะช้างเป็นฝูง แต่ที่นิยมและมีคนมาเลือกซื้อมากที่สุดคืองานแกะสลักช้างลอยตัว สำหรับราคาของชิ้นงานแกะสลักช้างของบ้านจ๊างนักในแต่ละชิ้นจะมีตั้งแต่ชิ้นละไม่กี่สิบบาทจนถึงราคานับล้านบาท งานส่วนใหญ่จะส่งออกไปขายยังต่างประเทศ ประเทศที่นิยมสั่งซื้อมาก อาทิ สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, เยอรมนี ฯลฯ
บ้านจ๊างนัก ยังเป็นแห่งแรกที่มีการทดลองนำวัสดุใหม่ๆที่หาได้ในท้องถิ่นมาทด แทนวัสดุเดิม ที่นับวันมีแต่จะหายากมากขึ้น เช่น มีการนำเอาไม้ขี้เหล็กมาทดแทนไม้สัก ซึ่งประโยชน์เพียงอย่างเดียวของไม้ขี้เหล็กในสมัยก่อน คือนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น และผลที่ได้จากการนำมาแกะสลักพบว่า ไม้ขี้เหล็กเป็นไม้เนื้อแข็งมาก การแกะค่อนข้างยากกว่าไม้สัก แต่ผลงานที่ออกมาจะสวยงาม และสีเป็นธรรมชาติ
งานแกะสลักช้างไม้ทุกชิ้นของบ้านจ๊างนักจะมีรหัสหมายเลขกำกับอยู่ใต้เท้าช้าง ซึ่งจะบอกถึงเดือน,ปี ที่ผลิตและมีอักษร "พ" กำกับอยู่ด้วย ความจริงแล้วสมาชิกของกลุ่มบ้านจ๊างนักจะมีรายได้หลักจากการทำนา จะใช้เวลาว่างจากการทำนามาทำการแกะสลักช้างซึ่งมีรายได้พอประมาณ
นอกจากการทดลองเรื่องของไม้แล้ว ยังมีการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอด กันมามาประยุกต์ใช้ กับงานแกะสลัก นั่นก็คือ นำเอาลูกมะเกลือที่ใช้ในการย้อมผ้า มาย้อมสีไม้ซึ่งก็ให้สีที่เป็นธรรมชาติและไม่มีสารพิษตกค้างเป็นอันตราย ต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม
เมื่อ ปีพ.ศ. 2546 บ้านจ๊างนัก ได้รับการบรรจุให้เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น สังกัดเอกชน ยังผลให้เป็นที่รู้จัก กันอย่างแพร่หลายในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและ ชาวต่างประเทศ ที่มีความสนใจในศิลปะแขนงนี้ นอกจากนี้ หนึ่งในความภาคภูมิใจของสล่าบ้านจ๊างนักทุกคนคือการที่เป็นส่วนหนึ่ง ของการทำให้ผู้คน ได้เกิดความรัก หวงแหน และ ตระหนักถึงความสำคัญและปัญหาของช้างไทยในปัจจุบัน และร่วมกันอนุรักษ์ช้างไทยให้อยู่คู่กับคนไทยอีกนานเท่านาน
พิพิธภัณฑ์บ้านจ๊างนัก 56/1 หมู่ 2 ต. บวกค้าง อ. สันกำแพง จ. เชียงใหม่ เปิดให้เข้าชมเวลา 8.00 - 17.00 น. ทุกวัน หากต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้า เพื่อความสะดวกในการเยี่ยมชม
วัดหยุดได้มีโอกาศพาลูกสาวไปเที่ยวสถานที่ที่ไม่ใกลจากที่ทำงานของผมมากนัก ตั้งอยู่ อ.สันกำแพง จ. เชียงใหม่ ตามไปเที่ยวกันเลยครับ
ข้อมูลสถานที่..ครับ..
http://www.baanjangnak.com/index.html
บ้านจ๊างนักก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยสล่าเพชร วิริยะ ซึ่งได้รวบรวมเพื่อนฝูง ตลอดจนลูกศิษย์ลูกหา ช่างแกะสลักฝีมือดีและมีความรักในศิลปะการแกะสลักไม้แบบล้านนา มารวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มแกะสลักขึ้นมา เมื่อปีพ.ศ. 2531 คุณลุงประยูร จรรยาวงศ์ คอลัมน์นิสต์ชื่อดังแห่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐในขณะนั้น ได้ให้เกียรติมาเยี่ยมเยือน พร้อมกับตั้งชื่อบ้านว่า “บ้านจ๊างนัก” อันหมายถึงบ้านที่มีช้างเยอะแยะมากมาย
คุณเพชร วิริยะ จบการศึกษาเพียงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นผู้หนึ่งที่อนุรักษ์และมีความผูกพันกับช้างกล่าวว่า "เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 ได้เรียนวิชาแกะสลักช้างไม้จากครูคำอ้าย เดชดวงตา ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่เชี่ยวชาญทางด้านแกะสลักไม้โดยเฉพาะการแกะสลักช้าง หลังจากเรียนมีวิชาชีพในด้านการสลักช้างไม้จากครูคำอ้าย เดชดวงตา ประมาณ 4-5 ปี ออกมาประกอบอาชีพด้วยการเป็นลูกจ้างแกะสลักช้างตามร้านค้าทั่วไป เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าในอดีตที่ผ่านมา การแกะสลักช้างจะมีอยู่เพียง 2-3 ท่าเท่านั้น คือท่ายืนและท่าเดินรวมทั้งเป็นงานแกะสลักแบบขัดเกลี้ยงและลงเเล็กเกอร์ บ้านจ๊างนัก ได้มีการพัฒนารูปแบบการแกะสลักช้าง จากเดิมที่ช่างแกะจะมีการแกะสลักแบบตายตัว รูปแบบจะซ้ำกัน มาเป็นการแกะสลักช้างที่ดูมีชีวิตชีวา มีท่าทางท่วงทำนองที่เหมือน ช้างจริง ๆ ซึ่งนับเป็นแห่งแรกที่มีการแกะสลักช้างรูปแบบนี้
ระหว่างปี พ.ศ.2527-28 จึงได้ตัดสินใจเข้าไปศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของช้างว่ามีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร ในพ.ศ.2528-2529 จึงรวบรวมลูกศิษย์ 3-4 คน จัดตั้งกลุ่ม "บ้านจ๊างนัก" เริ่มบุกเบิกงาน แกะสลักช้างรูปแบบใหม่โดยเน้นรูปเหมือนจริงและมีหลากหลายอิริยาบถ ไม่ว่าจะเป็นท่านนั่ง นอน เดิน หรือแม้แต่ช้างกำลังถ่ายอุจจาระ" งานแกะสลักช้างของบ้านจ๊างนักจึงมีผู้คนยอมรับกันว่าเป็นงานแกะสลักช้างที่เหมือนจริงมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นผิวหนังที่เหมือนจริง ดวงตาที่เหมือนมีชีวิตจริง นับเป็นงานศิลปะพื้นบ้านที่น่าทึ่งที่สุดอีกแขนงหนึ่ง ที่ควรภาคภูมิใจว่านี่คือฝีมือของคนไทย
รูปแบบของงานแกะสลักช้างของบ้านจ๊างนักจะแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ คืองานแกะสลักช้างลอยตัวซึ่งมีขนาดตัวเล็กหรือตัวใหญ่, งานแกะสลักช้างบนแผ่นไม้กระดานสำหรับติดฝาผนัง, งานแกะหัวช้างที่มีทั้งหัวเล็กหรือหัวใหญ่ และงานไม้ท่อนที่แกะช้างเป็นฝูง แต่ที่นิยมและมีคนมาเลือกซื้อมากที่สุดคืองานแกะสลักช้างลอยตัว สำหรับราคาของชิ้นงานแกะสลักช้างของบ้านจ๊างนักในแต่ละชิ้นจะมีตั้งแต่ชิ้นละไม่กี่สิบบาทจนถึงราคานับล้านบาท งานส่วนใหญ่จะส่งออกไปขายยังต่างประเทศ ประเทศที่นิยมสั่งซื้อมาก อาทิ สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, เยอรมนี ฯลฯ
บ้านจ๊างนัก ยังเป็นแห่งแรกที่มีการทดลองนำวัสดุใหม่ๆที่หาได้ในท้องถิ่นมาทด แทนวัสดุเดิม ที่นับวันมีแต่จะหายากมากขึ้น เช่น มีการนำเอาไม้ขี้เหล็กมาทดแทนไม้สัก ซึ่งประโยชน์เพียงอย่างเดียวของไม้ขี้เหล็กในสมัยก่อน คือนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น และผลที่ได้จากการนำมาแกะสลักพบว่า ไม้ขี้เหล็กเป็นไม้เนื้อแข็งมาก การแกะค่อนข้างยากกว่าไม้สัก แต่ผลงานที่ออกมาจะสวยงาม และสีเป็นธรรมชาติ
งานแกะสลักช้างไม้ทุกชิ้นของบ้านจ๊างนักจะมีรหัสหมายเลขกำกับอยู่ใต้เท้าช้าง ซึ่งจะบอกถึงเดือน,ปี ที่ผลิตและมีอักษร "พ" กำกับอยู่ด้วย ความจริงแล้วสมาชิกของกลุ่มบ้านจ๊างนักจะมีรายได้หลักจากการทำนา จะใช้เวลาว่างจากการทำนามาทำการแกะสลักช้างซึ่งมีรายได้พอประมาณ
นอกจากการทดลองเรื่องของไม้แล้ว ยังมีการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอด กันมามาประยุกต์ใช้ กับงานแกะสลัก นั่นก็คือ นำเอาลูกมะเกลือที่ใช้ในการย้อมผ้า มาย้อมสีไม้ซึ่งก็ให้สีที่เป็นธรรมชาติและไม่มีสารพิษตกค้างเป็นอันตราย ต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม
เมื่อ ปีพ.ศ. 2546 บ้านจ๊างนัก ได้รับการบรรจุให้เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น สังกัดเอกชน ยังผลให้เป็นที่รู้จัก กันอย่างแพร่หลายในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและ ชาวต่างประเทศ ที่มีความสนใจในศิลปะแขนงนี้ นอกจากนี้ หนึ่งในความภาคภูมิใจของสล่าบ้านจ๊างนักทุกคนคือการที่เป็นส่วนหนึ่ง ของการทำให้ผู้คน ได้เกิดความรัก หวงแหน และ ตระหนักถึงความสำคัญและปัญหาของช้างไทยในปัจจุบัน และร่วมกันอนุรักษ์ช้างไทยให้อยู่คู่กับคนไทยอีกนานเท่านาน
พิพิธภัณฑ์บ้านจ๊างนัก 56/1 หมู่ 2 ต. บวกค้าง อ. สันกำแพง จ. เชียงใหม่ เปิดให้เข้าชมเวลา 8.00 - 17.00 น. ทุกวัน หากต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้า เพื่อความสะดวกในการเยี่ยมชม
แอบลูกหนีเที่ยว....หมู่บ้าน แม่กำปอง หมู่บ้านกลางหุบเขาที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี
แอบลูกหนีเที่ยว....แม่กำปอง หมู่บ้านกลางหุบเขาที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี....
ข้อมูล....
บ้านแม่กำปอง กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขาและมีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี ชาวบ้านมีอาชีพปลูกเมี่ยง ทำไร่ และทำส่วนกาแฟ จึงทำให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปชื่นชมความงดงามอย่างไม่ขาดสาย ปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นทำให้ชาวบ้านเกรงว่าอาจส่งผลกระทบต่อชุมชนในอนาคต
โดยเฉพาะวัฒนธรรมภายนอกที่เข้ามาพร้อมกับนักท่องเที่ยว จากสิ่งที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องมีกระบวนการป้องกันปัญหา เพื่อให้คนในหมู่บ้านและนักท่องเที่ยวได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อไป พร้อม ๆ กับการอนุรักษ์วัฒนธรรมของคนในชุมชน โดยใช้กระบวนการวิจัยโครงการ รูปแบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบยั่งยืน บ้านแม่กำปอง หมู่ 3 ตำบลห้วยแก้ว กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ มีนายพรมมินทร์พวงมาลา เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย
หลังสิ้นสุดกระบวนการวิจัย ชาวบ้านสามารถรวบรวมพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ พืชสมุนไพร ไม้ดอกที่มีคุณค่าอย่าง ”ดอกเอื้องดิน” ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาตามวิถีชีวิตของชุมชน รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน จากเข้าร่วมกระบวนการของงานวิจัย นอกจากนั้นยังนำเอาองค์ความรู้ไปต่อยอดพัฒนาไปสู่รูปแบบการท่องเที่ยวภายใต้การจัดการของคนในชุมชนอย่างเป็นระบบ ที่ประกอบด้วย กิจกรรมทางการท่องเที่ยว โปรแกรมและรูปแบบการท่องเที่ยว กฎระเบียบข้อบังคับการท่องเที่ยวของชุมชน คณะกรรมการด้านการท่องเที่ยว การบริหารจัดการทรัพยากรทางการท่องเที่ยวของชุมชน เน้นการกระจายรายได้ และผลประโยชน์ที่ลงสู่ชุมชนอย่างสมดุลย์
ข้อมูล....
บ้านแม่กำปอง กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขาและมีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี ชาวบ้านมีอาชีพปลูกเมี่ยง ทำไร่ และทำส่วนกาแฟ จึงทำให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปชื่นชมความงดงามอย่างไม่ขาดสาย ปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นทำให้ชาวบ้านเกรงว่าอาจส่งผลกระทบต่อชุมชนในอนาคต
โดยเฉพาะวัฒนธรรมภายนอกที่เข้ามาพร้อมกับนักท่องเที่ยว จากสิ่งที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องมีกระบวนการป้องกันปัญหา เพื่อให้คนในหมู่บ้านและนักท่องเที่ยวได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อไป พร้อม ๆ กับการอนุรักษ์วัฒนธรรมของคนในชุมชน โดยใช้กระบวนการวิจัยโครงการ รูปแบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบยั่งยืน บ้านแม่กำปอง หมู่ 3 ตำบลห้วยแก้ว กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ มีนายพรมมินทร์พวงมาลา เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย
หลังสิ้นสุดกระบวนการวิจัย ชาวบ้านสามารถรวบรวมพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ พืชสมุนไพร ไม้ดอกที่มีคุณค่าอย่าง ”ดอกเอื้องดิน” ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาตามวิถีชีวิตของชุมชน รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน จากเข้าร่วมกระบวนการของงานวิจัย นอกจากนั้นยังนำเอาองค์ความรู้ไปต่อยอดพัฒนาไปสู่รูปแบบการท่องเที่ยวภายใต้การจัดการของคนในชุมชนอย่างเป็นระบบ ที่ประกอบด้วย กิจกรรมทางการท่องเที่ยว โปรแกรมและรูปแบบการท่องเที่ยว กฎระเบียบข้อบังคับการท่องเที่ยวของชุมชน คณะกรรมการด้านการท่องเที่ยว การบริหารจัดการทรัพยากรทางการท่องเที่ยวของชุมชน เน้นการกระจายรายได้ และผลประโยชน์ที่ลงสู่ชุมชนอย่างสมดุลย์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)